การให้ความช่วยเหลือ ของ อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2553

รัฐบาล

ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 19 ตุลาคม นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ออกมาระบุว่าให้กระทรวงการคลังผ่อนผันกฎเกณฑ์และหลักการให้ความช่วยวเหลือการเบิกจ่ายเงินทดลองจ่ายในจังหวัดที่ประสบอุทกภัย ทั้งนี้ยังได้เพิ่มเงินทดลองจ่ายจาก 50 ล้านบาทเป็น 100 ล้านบาท โดยให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้พิจารณา[5] ด้านอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อัมพร นิติสิริ กล่าวว่า ทางกรมได้ขอความร่วมมือจากนายจ้างให้ลูกจ้างที่ไม่สามารถเดินทางมาทำงานได้จากเหตุอุทกภัยได้ลาหยุดโดยไม่ถือว่าเป็นวันลาหรือผิดข้อบังคับการทำงานด้วย[5] นายกรัฐมนตรีได้ลงนามแต่งตั้งศูนย์ประสานงานเยียวยาผู้ประสบภัยขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553[33]

รัฐบาลได้ให้คำมั่นว่าจะมอบเงินจำนวน 5,000 บาทให้แก่ครอบครัวผู้ประสบภัยน้ำท่วมหนักที่สุด ในส่วนหนึ่งของงบประมาณพิเศษ 2,900 ล้านบาท[23] นอกจากนี้ เงินช่วยเหลือสำหรับแต่ละครอบครัวอาจสูงถึง 100,000 บาทในกรณีค่าซ่อมแซมบ้าน ตลอดจนลดหย่อนภาษีให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ[34]

ได้มีการส่งตัวผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคใต้จำนวน 36,000 คนไปยังค่ายบรรเทาทุกข์ที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของมาเลเซีย[35]

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

เอกชน

เอกชนชาวไทยเป็นแถวหน้าในการให้ความช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย โดยได้มีการเรียกร้องให้สาธารณะช่วยกันบริจาคและเร่งรุดลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือโดยไม่รอคำชี้แจงจากรัฐบาล เอแบคโพลได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความพอใจต่อการให้ความช่วยเหลือในเหตุอุทกภัย พบว่ากลุ่มอาสาสมัครได้คะแนนถึง 7.52 เต็ม 10 ในขณะที่นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลได้เพียง 5.55 และฝ่ายค้านได้เพียง นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าการให้ความช่วยเหลือของภาคเอกชนในอุทกภัยครั้งดังกล่าวจะช่วยเยียวยาการแตกสามัคคีในชาติ โดยไม่แบ่งแยกสถานภาพทางเศรษฐกิจและฝ่ายทางการเมือง[36]

ต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553 สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย แจ้งว่า ฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ได้ส่งสาส์นแสดงความเสียใจถึงผู้ประสบอุทกภัย ใจความว่า ในนามของประธานาธิบดีบารัค โอบามา และชาวอเมริกัน ขอแสดงความเสียใจถึงประชาชนชาวไทยจากอุทกภัยรุนแรงดังกล่าว โดยสถานเอกอัครราชทูตได้มอบความช่วยเหลือเฉพาะหน้าและจะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยหากจำเป็น[37] และเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553 อีริค ดี. จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ได้บริจาคเงิน 50,000 ดอลล่าร์สหรัฐให้กับสภากาชาดไทย เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในนามของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา[38]

ประธานสภาประชาชนแห่งชาติได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์อุทกภัยในประเทศไทย ซึ่งเป็นอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 50 ปี และมีพื้นที่ได้รับผลกระทบถึง 50 จังหวัด[39] รัฐบาลจีนตั้งใจที่จะมอบความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและบริจาคเงินจำนวน 10 ล้านหยวนเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ[39]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2553 http://61.19.54.151/public/Group3/datagroup3/2553/... http://61.19.54.151/public/Group3/datagroup3/2553/... http://news.asiaone.com/News/Latest+News/Asia/Stor... http://news.asiaone.com/News/Latest+News/Asia/Stor... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokpost.com/breakingnews/204778/flo... http://www.bangkokpost.com/business/economics/2045... http://www.bangkokpost.com/news/local/204247/songk... http://www.bangkokpost.com/news/local/204261/flood... http://www.bangkokpost.com/news/local/204495/rescu...